เมนู

วิเคราะห์ศัพท์ว่า กุศล และธรรม



พึงทราบความหมายของคำว่า กุศล เป็นต้นในที่นี้.
สภาวะที่ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ยังปาปกธรรมอันบัณฑิตเกลียด
ให้ไหว ให้เคลื่อนไป ให้หวั่นไหว คือให้พินาศ. อีกอย่างหนึ่ง สภาวธรรม
ใด ย่อมผูกพันโดยอาการที่บัณฑิตเกลียด สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า กุสะ ธรรม
ที่ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ย่อมถอนขึ้น คือย่อมตัดกุสะ กล่าวคืออกุศล
เหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ญาณ ชื่อว่า กุสะ เพราะทำอกุศลอันบัณฑิตเกลียด
ให้สิ้นสุด หรือเบาบาง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า อันญาณ
ชื่อกุสะนั้นพึงตัด คือ พึงถือเอา พึงให้เป็นไปทั่วด้วยกุสญาณนั้น. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ธรรมแม้เหล่านี้ ย่อมตัดส่วนสังกิเลสที่ถึงส่วน
ทั้งสอง คือ ที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิด เหมือนหญ้าคาย่อมบาดส่วนแห่งมือ
ที่ลูบคมหญ้าทั้งสอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ย่อมตัด
คือ ย่อมทำลายอกุศลเหมือนหญ้าคา ฉะนั้น.
ส่วนภาวะที่ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า อันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้หรือว่า
ย่อมทรงไว้ตามสภาวะ ธรรมที่ชื่อว่า อกุศล เพราะอรรถว่า ไม่ใช่กุศล.
อธิบายว่า ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล เหมือนอมิตรเป็นปฏิปักษ์ต่อมิตร
อโลภะเป็นต้นเป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะเป็นต้น. ธรรมที่ชื่อว่า อัพยากตะ เพราะ
อรรถว่า ไม่กระทำให้แจ้ง อธิบายว่า ท่านไม่กล่าวไว้โดยความเป็นกุศลและ
อกุศล. ในบรรดาธรรมทั้งสามนั้น กุศลมีความไม่มีโทษและมีวิบากเป็นสุข
เป็นลักษณะ. อกุศลมีโทษและมีทุกข์เป็นวิบากเป็นลักษณะ อัพยากตะมีอวิบาก
เป็นลักษณะ.

ถามว่า บทเหล่านั้น คือ กุสลา หรือว่า ธมฺมา เป็นต้น มีอรรถ
อย่างเดียวกัน หรือมีอรรถต่างกัน.
ตอบว่า ในข้อนี้เป็นอย่างไร ถ้าภาระทั้งสองนี้มีอรรถเป็นอันเดียวกัน
คำว่า กุสลา ธมฺมา นี้ก็จะเป็นเช่นกับกล่าวคำว่า กุศล กุศล ถ้าว่ามีอรรถ
ต่างกันก็จะปรากฏว่าติกะและทุกะเป็นฉักกะและจุตกะ และบททั้งหลายก็ไม่เกี่ยว
เนื่องกัน เหมือนเขากล่าวว่า กุศล รูป คนมีจักษุ เมื่อบททั้งหลายไม่ส่อง
ความถึงกันและกันด้วยสามารถแห่งอรรถ ความเกี่ยวข้องกันอะไร ๆ ก็ไม่มี
แม้ในคำว่า กุสลา ธมฺมา เป็นต้นนี้ก็เหมือนกัน บททั้งหลายจะไม่สัมพันธ์กัน
และบททั้งหลายเว้นจากการสัมพันธ์ในบทเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว ชื่อว่า
ประโยชน์ย่อมไม่มี และต่อไปก็จะขัดแย้งกับคำถามที่ว่า กตเม ธมฺมา
กุสลา
เพราะว่า ธรรมทั้งหลายไม่ใช่กุศล ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้พระภาคเจ้า
จึงตรัสคำนี้ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา. อีกนัยหนึ่ง ถ้าบททั้งหลายเหล่านี้
มีอรรถอย่างเดียวกัน แม้ความที่ธรรมทั้ง 3 มีกุศลเป็นต้น ก็จะปรากฏเป็น
เช่นเดียวกัน จริงอยู่ ธรรมทั้ง 3 มีบทแห่งกุศลเป็นต้น ย่อมปรากฏเป็นอัน
เดียวกันโดยความเป็นธรรม เพราะฉะนั้น แม้กุศลเป็นต้นอันมีความหมาย
ไม่ต่างกันโดยอรรถกันธรรม 3 อย่าง ก็จะปรากฏเป็นอย่างเดียวกันไป คือ
คำใดเป็นกุศล คำนั้นเป็นอกุศล เป็นอัพยากตะ ถ้าหากไม่ยอมรับธรรม 3
อย่าง เป็นอย่างเดียวกัน ก็จะต้องกล่าวว่า ธรรมที่มีศัพท์ว่า กุศลอยู่ข้างหน้า
เป็นอย่างหนึ่ง ธรรมที่มีศัพท์ว่า อกุศลอยู่ข้างหน้าก็เป็นอย่างหนึ่ง ธรรมที่มี
อัพยากตะอยู่ข้างหน้าก็เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาวะก็ดี อภาวะอื่น
นอกจากภาวะก็ดี ก็ชื่อว่า ธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมที่มีอกุศลศัพท์ข้างหน้า
ก็นอกไปจากธรรมที่มีกุศลศัพท์อยู่ข้างหน้าซึ่งเป็นภาวะก็จะพึงเป็นอภาวะไป

แม้ธรรมที่มีอัพยากตะอยู่ข้างหน้า แม้ธรรมมีกุศลศัพท์อยู่ข้างหน้าอื่น ก็เป็น
อภาวะเหมือนกัน แม้กุศลเป็นต้นเหล่าอื่นนอกจากธรรมที่ถึงความเป็นอภาวะ
อย่างนี้ ก็พึงเป็นอภาวะนั่นแหละ คำนั้นทั้งหมดไม่ใช่เหตุสำคัญ.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะคำทั้งหมดนั้นสำเร็จโดยโวหารที่รู้กัน.
จริงอยู่ โวหารที่เขารู้กัน รับรองกันในอรรถทั้งหลายโดยประการใดๆ
ก็สำเร็จได้โดยประการนั้น ๆ นั่นแหละ ก็การกล่าวถึงธรรมที่มีกุศลเป็นบทหน้า
และการกล่าวถึงกุศลศัพท์ที่มีธรรมเป็นบทหลัง ในคำเป็นต้น กุสลา ธมฺมา
ดังนี้ บัณฑิตทั้งหลายไม่ยอมรับ เพราะไม่มีความหมายต่างกันของตน เหมือน
อย่างที่ไม่รับรองคำอย่างนี้ว่า กุสลา กุสลา และไม่รับรองว่ามีอรรถะที่ส่อง
ถึงกันและกัน ดุจศัพท์ว่า กุสลา รูปํ จกฺขุมา (กุศล รูป คนมีจักษุ).
ส่วนกุศลศัพท์ ในคำว่า กุสลา ธมฺมา นี้ บัณฑิตรับรองแล้ว
โดยส่องถึงอรรถ คือ ความไม่มีโทษ และมีสุขเป็นวิบาก. อกุศลศัพท์ บัณฑิต
รับรองแล้ว โดยความส่องถึงอรรถว่าเป็นโทษและมีทุกข์เป็นวิบาก. อัพยากต-
ศัพท์ บัณฑิตรับรองโดยความส่องถึงอรรถว่า ไม่มีวิบาก.
ธัมมศัพท์ บัณฑิตรับรองโดยความส่องถึงอรรถว่า มีการทรงไว้ซึ่ง
ภาวะของตนเป็นต้น. ธัมมศัพท์นั้น เมื่อท่านกล่าวไว้ในระหว่างศัพท์เหล่านั้น
ศัพท์ใดศัพท์หนึ่ง ก็ย่อมแสดงถึงความเสมอกันแห่งอรรถของตน จริงอยู่
ศัพท์เหล่านี้ทั้งหมด ชื่อว่า ธรรม เพราะมีการทรงไว้ซึ่งภาวะของตนเป็นต้น
เป็นลักษณะ และแม้กุศลศัพท์เป็นต้น ที่ท่านกล่าวอยู่ข้างหน้าของธัมมศัพท์
ก็ย่อมส่องถึงความแปลกกันของอรรถของธัมมศัพท์นั้นของต้น.

จริงอยู่ ธรรมเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากตะก็มี ศัพท์
เหล่านั้นทั้งหมด เมื่อกล่าวแยกกัน บัณฑิตทั้งหลายในโลก ก็รับรองเพียง
ส่องความหมายของตน ๆ เมื่อกล่าวรวมกัน ก็ยอมรับเนื้อความที่เสมอกับของตน
และความที่ต่างกัน เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกำหนดถึงเนื้อความที่เป็นอัน
เดียวกันและต่างกันในคำว่า กุสลา ธมฺมา นี้ และกระทำให้เป็นข้อที่ควร
ตำหนิ คำทั้งหมดนั้น จึงไม่ใช่เหตุสำคัญด้วยประการฉะนี้. การพรรณนาตาม
บทกุสลติกะเพียงเท่านี้ก่อน. แม้ติกะและทุกะที่เหลือ ก็พึงทราบโดยนัยนี้แล.

ว่าด้วยสุขเวทนาติกะที่ 2



ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักกล่าวถึงข้อที่แตกต่างกันเท่านั้น.
เบื้องต้นนี้ สุขศัพท์ ในคำว่า สุขาย เวทนา เป็นต้น ท่านใช้ในความหมาย
หลายอย่างมีคำว่า สุขเวทนา สุขมูล สุขารมณ์ สุขเหตุ สุขปัจจยฐาน
อัพยาปัชฌะ
และนิพพาน เป็นต้น.
จริงอยู่ สุขศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า สุขเวทนา ดังในประโยคมีอาทิว่า
สุขสฺส จ ปหานา (เพราะละสุขเวทนาได้) ใช้ในอรรถว่า สุขมูล ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท สุขา วิราคตา โลเก
(ความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นมูลแห่งความสุข การปราศจาก
ความกำหนัดเป็นมูลแห่งความสุขในโลก) ใช้ในอรรถว่า สุขารมณ์ ดังใน
ประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูปํ สุขํ สุขานุปติตํ สุขา-
โวกฺกนฺตํ
(ดูก่อนมหาลิ ก็เพราะเหตุที่รูปมีอารมณ์เป็นสุข มีสุขตามสนอง
หยั่งลงสู่ความสุข) ใช้ในอรรถว่า สุขเหตุ ดังในประโยคมีอาทิว่า สุขสฺเสตํ
ภิกฺขเว อธิวจนํ ยทิทํ ปุญฺญานิ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญทั้งหลาย